วันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560

Korea Agreement ...ปฎิบัติการ ล้วงลึกพลังงานสะอาด 22-26 Aug 2017 with คพข.10 #สำนักงานกำกับกิจการพลังงาน #กกพ.
















มีหน้าที่ตาม พรบ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 คือ









นับแต่วันแต่งตั้งให้เป็น คพข.ประจำเขต 10 (รุ่น 2) พวกเราได้ดำเนินการ รับเรื่องร้องเรียน และรับฟังปัญหาของพี่น้องในจังหวัดราชบุรี สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนองและพื้นที่ใกล้เคียง โดยได้แก้ไขปัญหา จากการสำรวจ ร่วมลงพื้นที่กับผู้ใช้ไฟฟ้า โดยใช้ปรัชญาในการประสานความร่วมมือกับผู้ให้บริการไฟฟ้าแบบสมานฉันท์ เพื่อแก้ไขปัญหา ไฟตก ไฟดับ หรือไม่มีไฟฟ้าใช้ ให้แก่พี่น้องอย่างทันท่วงที หรือบรรจุในแผนงานเพื่อดำเนินงานต่อไป




ผลการดำเนินงานของ คพข.เขต 10 ปี 2557- 2560
















จุดแรกของทริป  โรงไฟฟ้าพลังงานคลื่นน้ำอินซอน (INCHEON Tidal Power Plant)
















ที่นี่ ถือเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก เลยก็ว่าได้ เป็นโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากความต่างระดับของน้ำขึ้น น้ำลง สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 254 M สร้างขึ้นเสร็จเมื่อ ปี 2554 โดยอาศัยการสร้างเขื่อนถนนปิดกั้นอ่าวทะเล และใช้ความต่างของระดับน้ำทั้งสองฝั่ง ปิดเปิดประตูกั้นน้ำ พร้อมกับกังหันน้ำใต้น้ำ (turbine) ที่เป็นตัวปั่นกำเนิดกระแสไฟฟ้า จำนวน 10 ตัว

รัฐบาลเกาหลีใต้เป็นผู้ให้การสนับสนุน ซึ่งบริหารโดยบริษัท Korea Water Resources Corparation หรือ K Water ใช้เงินลงทุน 5 แสนล้านวอน หรือ คิดเป็นเงิน 15,000 ล้านบาท  สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 2 ครั้ง/วัน

สรุปประโยชน์ที่ได้
1.ช่วยฟื้นฟูคุณภาพน้ำในทะเลสาบ Sihwa จากการไหลเวียนของน้ำทะเลที่เข้าออก จากเดิมค่าน้ำ COD เดิม 17.4 ppm เป็น 2 ppm
2. สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 552 GWh/ปี ลดการนำเข้าหรือทดแทนโรงผลิตไฟฟ้าที่มีการใช้น้ำมัน กว่า 826,000 บาร์เรล /ปี
3. ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ประมาณ 315,000 ตัน/ปี
4. การพัฒนาสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล มีประชากรนก 146 สปีชส์ 230,000 ตัว





โรงไฟฟ้าขยะอินซอนแอร์พอร์ต (Incheon Airport Incineration Plant: IACC)





ที่นี่ จะเป็นศูนย์ที่รวบรวมขยะทั่วไป และขยะเศษอาหารจากสนามบินนานาชาติอินชอน มาเพื่อกำจัดขยะ โดยมีผลพลอยได้เป็นความการจัดการขยะ เป็นความร้อนทิ้งจากกระบวนการเผา นำไปทำไอน้ำส่งไปยังโรงไฟฟ้าที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน มีศักยภาพในการรับขยะมากำจัด 140 ตัน/วัน (70 ตัน/วัน 2 ชุด)

โดยใช้เทคโนโลยีเตาเผาแบบฟลูอิดไดซ์เบด ซึ่งมีข้อดี ในการลดปริมาณสารอันตรายได้ มีประสิทธิภาพเชิงความร้อนสูง รองรับได้ทั้งกากของแข็งและเหลว 

มีระบบกำจัดกลิ่น ระบบบำบัดอากาศ และควบคุมมลพิษก่อนจะปล่อยออกจากปล่องไอเสียของโรงงาน โดยเป็นระบบบำบัด 3 ขั้นตอน มีการเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานกลาง และปรับปรุงก่อนปล่อยออก







 ศูนย์พลังงานแห่งความฝันกรุงโซล (Seoul Energy Dream Center)






       Seoul Energy Dream Center คือ ศูนย์นิทรรศการพลังงานหมุนเวียน ที่ออกแบบโดยความร่วมมือระหว่าง  เยอรมันกับเกาหลีใต้ โดยใช้แนวคิดที่ปราศจากการใช้พลังงานจากภายนอก  ตัวอาคารเป็นที่สำหรับแสดงนวัตกรรมและแนวคิดเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน

มีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งบนหลังคาและบนพื้นดิน 280,000 kWh/ปี
ติดตั้งม่านไฟฟ้าที่ติดตั้งภายนอกกระจก และกระจก 3 ชั้น เคลือบด้วยอนุภาคเงินทั้งสองด้าน เพื่อป้องกันความร้อนผ่านมาชั้นกระจกและเข้าสู่ตัวอาคาร ออกแบบและก่อสร้างอาคารให้เกิดความเย็นและความร้อนโดยการพึ่งพาธรรมชาติ ถ่ายเท หมุนเวียนอากาศ ระหว่างอาคารและชั้นใต้ดิน  ไม่เปิดหน้าต่างหรือช่องโล่ง เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อน ผนังอาคารใช้วัสดุคล้ายหินอ่อน ที่สามารถสะท้อนรังสีความร้อนที่มาจากแดด รวมถึงการออกแบบให้กระจกรอบอาคารมีความลาดเอียง เพื่อให้สามารถปรับแสงแดดในแต่ละฤดูกาล เป็นต้น











โดยที่ เกาหลีใต้ มีการประกาศ นโยบายการจัดการพลังงาน ภายในปี 2020 Action on the Promise of Seoul(เริ่ม 2013)
วิสัยทัศน์ คือ ความยั่งยืน ภูมิอากาศที่ปรับตัวดี
เป้าหมาย การลดก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ 25 และการสร้างเมืองที่มีสุขภาพดี ปลอดภัยด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัว
กลยุทธ์ คือ ความเป็นผู้นำของภาครัฐ   การมีส่วนร่วมของพลเมือง และ ความร่วมมือของภาคเอกชน

โดยมีการส่งเสริมให้มีคนภายในประเทศมีการจัดการพลังงานไฟฟ้าแบบพึ่งพาตนเอง ร้อยละ 20
ส่งเสริมให้มีการลงชื่อในการแลกเปลี่ยนพลังงาน 30,000 หลังคาเรือน
เพิ่มอัตราการรีไซเคิลขยะในครัวเรือน ร้อยละ 73
การสร้างคุณภาพอากาศ โดยสนับสนุนส่งเสริมใช้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้า 12,280 คัน
การจัดการพลังงาน ส่งเสริมให้มีการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ขนาดเล็ก ระดับครัวเรือน ให้ได้ 3,249 MW
การจัดการทรัพยากร มุ่งบริหารจัดการขยะจากอาหาร ในระดับไม่เกิน 2,2227 ตันต่อวัน
สร้างถนนจักรยาน 1,000 กม. ในโซล
ด้านสุขภาพและความปลอดภัย - มีพลเมืองที่คอยดูพิทักษ์เมือง 100,000 คน
เป็นต้น






 ศูนย์ Samsung  d light  












ชมความล้ำของเทคโนโลยี ที่เชื่อมโยงกับชีวิต และเตรียมเปิดตัว Galaxy Note8


โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม (Komipo Thermai Power Plant )

















โรงไฟฟ้าขยะ Mapo Resource Recovery Plant





โรงกำจัดขยะ Mapo มีการกำจัดขยะที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 จาก 4 แห่ง ของกรุงโซล มีความสามารถในการกำจัดขยะได้ 750 ตัน ต่อวัน (250 ตันต่อวัน จำนวน 3 ชุด) ซึ่งในกระบวนการในการเผาขยะจะได้พลังงานความร้อน โดยจะส่งพลังงานความร้อนทางท่อ เพื่อจำหน่ายให้ประชาชนในกรุงโซลกว่า 20,000 ครัวเรือน ส่วนพลังงานความร้อนส่วนที่เหลือยังนำไปผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าใช้เองในโรงงาน  มีรัฐบาลเป็นคนลงทุน

โดยที่คนในชุมชนจะได้รับสิทธิพิเศษจากส่วนลดการค่าไฟฟ้าลดกว่าร้อยละ 60  และสามารถใช้บริการศูนย์บริการอเนกประสงค์ด้านกีฬาและอื่นๆ จะมีการแบ่งเงินจากผลประกอบการร้อยละ 5 เอาจัดเป็นเงินกองทุน เพื่อนำไปใช้งานสาธารณะ (คล้ายๆเงินกองทุนโรงไฟฟ้าบ้านเรา)







จุดเด่นของการจัดการพลังงาน
"พลังงานใช้แล้วหมดไป การแสวงหาพลังงานที่ไม่มีวันหมด
เป็นอีกคำตอบ ที่สำคัญต่อความอยู่รอดของมนุษยชาติ"
หากแต่ก็สามารถเริ่มได้ แต่วันนี้
ถ้าเพียงแต่ มนุษย์รู้จักใช้พลังงานที่มีอยู่ อย่างคุ้มค่า และช่วยกัน REUSE REVERSE และRECYCLE

เท่านี้ เราก็อยู่กันได้ยาวนานแล้ว


ตลาดเมียงดง (มยองดง) แหล่งช๊อปปิ้ง สินค้าเพิ่มความสวย ที่สาวๆ ไม่ควรพลาด


พระราชวังเคียงบก กับบรรยากาศใกล้ชิดกับสาวเกาหลี







คล้องกุญแจคู่รัก แต่งตัวเหมือนกัน ก้อน่ารักดีนะ






พบกันใหม่ เมื่อชาติต้องการ คพข.เขต 10




ผลการดำเนินงานของ คพข.เขต 10 ปี 2557- 2560

https://www.youtube.com/watch?v=dnm71DiCesg

ขอขอบพระคุณข้อมูลการดูงาน จาก สนง.กกพ.