วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

Biz Club London Trips w/Ministry of Commerce 11-17 April 2018


Biz Club London Trips w/Ministry of Commerce 11-17 April 2018



ถือเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ช่วงสงกรานต์ไม่ได้อยู่เมืองไทย โดยมีเป้าหมายคือการเชื่อมโยงกับ FSB



พวกเราเดินทางกับสายการบิน QATA เจ้าของรางวัลสายการบินระดับโลก ปี 2017 (ขณะที่มา อเมริกา ฝรั่งเศส และอังกฤษ นำทีมโจมตีฐานที่มั่นของซีเรียพอดีเลย กังวลเล็กน้อยนะเนี่ยะ)



วันที่ 11 เมย. 61 เซ็คอินเข้าที่พัก Royal Lancaster Hotel ดีจริงๆ ใกล้ Park ใกล้ Tube รถไฟใต้ดิน



30 นาที เพื่อเก็บของเสร็จ จึงมารวมคณะ เพื่อเริ่มทำงานทันที จุดแรกที่เราไป คือ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ณ กรุงลอนดอน  นำคณะโดย ท่านสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ท่านจันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ท่านกุลณี อิศดิศัย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจ  ท่านสุภาวดี แย้มกลม อัครราชทูต (ฝ่ายพาณิชย์) ประจำกรุงลอนดอน และคณะ บุคคลแรกของทริปที่พวกเราได้เข้าพบ  คือ Mr.Guy Salter ,Chairman of London Craft Week (LCW) ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการจัดงาน LCW ซึ่งถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่และสื่อให้เห็นถึงผลงานด้านหัตถกรรมที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของประเทศอังกฤษและประเทศต่างๆที่มาร่วมอย่างมาก โดยจัดในหลากหลายพื้นที่ของลอนดอน ร่วมกับแบรนด์ดังต่างๆ สิ่งสำคัญคือการสร้างความร่วมมือกับร้านค้าต่างๆโดยรอบ โดยมีการนำงานหัตถกรรมเข้าไปสอดแทรก DISPLAY ในมุมต่างๆ ส่งเสริมความเป็น Creative Industry ของเมืองได้อย่างชัดเจน




จุดที่สอง UK Export  ที่นี้ เราพบกับ Mr.Louis Taylor Chief Executive ซึ่งที่นี้ ถือว่าเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ส่งออกของอังกฤษอย่างมาก โดยจะทำงานประสานกับบริษัทเอกชนผู้ให้สินเชื่อ และค้ำประกันสินเชื่อ กว่า 70 แห่งทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศได้ง่าย (อีกกรุ๊ปหนึ่งไป  Department for Digital Culture Media & Sports/DCMS ซึ่งหน่วยงานรัฐของอังกฤษ ทำหน้าที่กำหนดนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ มียุทธศาสตร์คือ การกระจายศก.สร้างสรรค์ไปทั่วประเทศ การส่งเสริมวิจัย การผลักดันจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาและ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน)



มื้อเย็น ได้รับเกียรติจากท่านเอกอัคราชทูตและภริยาเป็นเจ้าภาพเลี้ยงมื้อเย็น ท่านทูตและภริยาเป็นกันเองมากมาย  ทั้งได้รับฟังเรื่องดีๆมากมาย



เช้า 12 เมย. 61 เช้า 8.30 น. รมว.พาณิชย์ ได้นัดเชิญ Ms.Caroline Norbury , CEO Creative England มาพูดคุยที่ล๊อปบี้โรงแรม  โดย Creative England จะทำหน้าที่ส่งเสริมธุรกิจสร้างสรรค์ทั้งเป็นศูนย์ในการบ่มเพาะ ให้คำปรึกษาทางธุรกิจ ส่งเสริมหาแหล่งเงินทุน แต่จะเน้นไปที่ธุรกิจด้านดิจิตอลคอนเทนท์เป็นหลัก มีการร่วมลงทุนในธุรกิจ ซึ่งผลกำไรจะนำไปลงทุนในธุรกิจต่อๆไป



จากนั้นไปต่อที่จุดที่ 4  Cockpit Arts  ที่นี้ เราพบ Vanessa Swann, Chief Exeutive และ David Crump ,Head of Business Incubation  โดย Cockpit นี้ จะเป็นศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์ โดยเริ่มจากการเป็น Co-working Space และต่อมามีการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยด้านหัตถกรรมและแฟชั่น ภายในอาคารจะแบ่งเป็นห้องๆ ห้องสำหรับฝึกทำงาน ห้องสำหรับฝึกอบรม








ต่อด้วยจุดที่  5  Nesta  เป็นองค์กรที่เป็นลักษณะมูลนิธิดูแลด้านนวัตกรรมของโลก ส่งเสริมแนวคิดใหม่ที่ช่วยแก้ปัญหาและความท้าทายต่างๆที่เกิดขึ้น โดยเน้นด้านสุขภาพ การศึกษา นวัตกรรมภาครัฐ วัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ มีเครือข่ายทั่วโลก




เช้าวันที่ 13 เมย.61 เดินทางข้ามมายังเมืองคาร์ดีฟ ได้มาจุดที่ 6 ที่นี้ เรียกชื่อ Tramshed Tech มี Mr.Mark John, Director เป็นภาคเอกชนที่ให้บริการเป็น Co working Space สำหรับผู้ประกอบธุรกิจใน Creative Industry และTechnology เป็นสำคัญ จุดเด่นผู้ประกอบการที่มาอยู่ที่นี้ เมื่อมีความต้องการความรู้  หรือเนื้อหาอะไรในการพัฒนาธุรกิจ ทาง Tramshed จะจัดหามาเพิ่มเติมให้ ทั้งนี้ยังมีเครือข่ายกับ BBC อีกด้วย






ขยับข้ามมาอีก 2-3 คูหา ก็มาถึง จุดที่ 7 Sustainable Studio ที่นี้ เป็น Studio ในรูปแบบใหม่ ปรับปรุงจากอาคารโรงงานร้าง มีสมาชิกเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก ในกลุ่มธุรกิจสร้างสรรค์ ได้แก่ กลุ่มหัตถกรรม แฟชั่น ดีไซน์ และเครื่องประดับ มีการจัดกิจกรรมต่างๆ Open House เป็นนิทรรศการศิลปะ การออกแบบเสื้อผ้า การถ่ายแบบ ภาพยนตร์ และมีการจัด Real Time Event เผยแพร่ข้อมูลและกิจกรรมต่างๆ ผ่าน Twitter ที่สำคัญเมื่อสอบถามผู้ประกอบการที่มาใช้บริการ ต่างบอกว่า มาอยู่ที่นี้ ทำให้ได้แชร์ไอเดีย กับเพื่อนผู้ประกอบการในด้านต่างๆ เกิดความสร้างสรรค์งานใหม่ๆ จากการได้พูดคุย ได้พัฒนาตัวเอง ดีกว่าอยู่บ้านมากมาย






จากนั้นมา จุดที่ 8 The Chapter  ถือว่าเป็นหัวใจของเมืองคาร์ดีฟ ในแง่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ กันเลยทีเดียว The Chapter เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร เป็นศูนย์รวมการแสดงภาพยนตร์ ละครเวที ศิลปะการแสดง ดนตรี และArt Gallery เป็นที่พบปะของกลุ่มบุคคลในวงการ Creative





จากนั้น พวกเราก็มาทาน เมนูสุดแพง ตามรอยหนังสือท่องเที่ยวลอนดอน Burger Lopster ก่อนที่จะร่ำลาท่านรมว.พาณิชย์ ท่านอธิบดี และคณะกระทรวงพาณิชย์ ที่จะกลับวันที่ 14 เมย.61











หลังจากนั้น 15-17 เมย. พวกเราก็ได้ ตามรอยสถานที่ต่างๆ Natural History Museum / Big Ben / House of Parliament / Westminster Bridge /London Eye / Westminster Abbey /St James Park /Bought Market /British Museum /Liberty/ Harrods 

Windsor castle/ Stonehenge / Bath  .... ที่สำคัญที่ลืมไม่ได้ คือ High street Kensington แหล่งที่พักแบบประหยัดของพวกเรา ไว้คราวหน้ามาพักใหม่น้า








ขอขอบพระคุณ ข้อมูลและการประสานงานดีๆจาก
กระทรวงพาณิชย์
กรมส่งเสริมธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
สำนักงานการค้าต่างประเทศ กรุงลอนดอน


วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561

Biz Club Go...Hokkaido's Mission with SCB ...SMEs ไปด้วยกัน ไปได้ไกล 25-29 March 2018

Biz Club Go..Hokkaido's Mission with SCB ...SMEs ไปด้วยกัน  ไปได้ไกล 25-29 March 2018









นับจากได้รับข้อความจาก MS Facebook จาก อ.กุ้ง บอกว่ามีเรื่องจะคุย...ผมบอกว่าคุยพรุ่งนี้ ที่เซ็นทรัลเวิลด์  เลยไหม ....ซักพักอ.กุ้ง จึงถามกลับมาว่า 25-29 มีค.61ว่างไหม จะชวนไปฮอกไกโด...ผมถามต่อ ไปทำไรครับ....อาจารย์ตอบ ....เด่วค่อยว่ากัน เอาเป็นว่าเพื่อ SMEs ฟรีคชจ. SCB ออกให้หมด  ผมตอบ Ok.


เช้าวันที่ 25 มีค. หลังไปวิ่งดงตาล ที่ ม.เกษตรฯ และต่อด้วยเรียน SE ที่ มศว. ผมรีบกลับมาจัดของและไปสมทบกับพลพรรค พี่โต๊ด นพทัต บุณยเกียรติ รองประธานบิสไทยและปธ.บิสกรุงเทพ พร้อมด้วยศรีภรรยา น้องยุ้ย ที่สมทบด้วยคชจ.ตัวเอง และมาพบกับ พี่ปิง BNI ดร.เอก สมาพันธ์ sme ที่สำคัญทริปนี้ มีพี่อิฌ เจ้าของรายการโลกใบใหม่ ซึ่งเป็นทั้งพี่&พวกเก่า เป็นผู้นำทาง จึงเริ่มรู้สึกมันส์หล่ะ 






พวกเราเดินทางด้วยกันในไฟล์ TG670 ใช้เวลา  6 ชม.กว่า ก้อถึงสนามบิน    พอถึง ทั้งคณะรีบเปิดกระเป๋าแล้วนำเสื้อกันหนาว เพื่อปกป้องจากอุณหภูมิ ประมาณ 10-12 องศา จากนั้นก้อเดินทางแวะจุดพักเข้าห้องน้ำริมถนนหลัก และ "ที่นี่ เป็นครั้งแรกที่ได้จับและเล่นหิมะครั้งแรก" พร้อมกับรับประทานไอศครีมท้องถิ่น จากนมฮอกไกโด ที่มีชื่อเสียงยิ่งนัก





ฮอกไกโด เป็นจังหวัดที่อยู่เหนือสุดของญี่ปุ่น มี 1 จังหวัดเท่านั้น ได้รับวัฒนธรรมมาจากรัสเซีย ศิลปะสไตส์วิคตอเรีย และยุโรป ประชาชนส่วนใหญ่ 70% นับถือคริสต์ ที่เหลือนับถือชินโต คริสต์ และ พุทธ ที่น่าสนใจ  ชาวเกษตรกรของที่นี่ ทำเกษตรเพียง 6 เดือน อีก 6 เดือน หิมะตกทำไม่ได้ แต่ก็ถือว่ามีรายได้อยู่ได้ (ทราบว่ารัฐบาลก็มีเงินช่วยเหลือเหมือนบ้านเราเหมือนกัน ) จากนั้นพวกเราก็เดินทางมาทานอาหารเมนูเอกลักษณ์ญี่ปุ่น "ราเมง" ที่หมู่บ้านราเมง  อาซาฮิคาว่า เป็นสถานที่เอกชนรวมร้านราเมงชื่อดังมาตั้งรวมกัน 10 กว่าร้าน ที่นี่ เราเลือกเข้าร้านที่มีลายเซ็นดาราคนไทย พี่สัญญา คุณากร เคยมาทานก่อน ด้วยคูปอง 1,000 เยน (ใช้หมดพอดี 1ชาม)  มีสามน้ำซุปให้เลือก 1.มิโซะ  2.โชยุ  3.ทงคัตซึ  ผมเลือกทงคัตซึ น้ำซุปกระดูกหมู





จากนั้น ไปจุดที่เรียกว่าดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มาเมืองนี้ อีกจุด คือ Asahiyama Zoo ไปดูสวนสัตว์ที่มีการออกแบบได้สอดคล้องกับธรรมชาติ ได้เห็นนกกระเรียน ฝูงสุนัขจิ้งจอก และไฮไลท์ คือ นกเพนกวิน หมีขาว นกฮูกขาว (ที่สีแทบแยกไม่ออกจากหิมะ)  ทีสำคัญที่นี้ ปิดเร็วและตรงเวลามาก 15.30 น. ซึ่งเป็นผลดีต่อสัตว์ที่จะไม่ถูกรบกวนจนเกินไป








ที่พักสำหรับคืนแรกของพวกเรา  เราพักโรงแรม  Taisetsu เป็นโรงแรมสไตล์ดั้งเดิมแบบเรียวกัง ซึ่งอยู่ท่ามกลางหุบเขาหิมะ ที่นี้มีบ่อออนเซ็น 3 ที่ ทั้ง ชั้น 7 ชั้น 3 และชั้นล่างของโรงแรม  ซึ่งพวกเราก็จัดไป ลิ้มลองแช่ ทั้ง indoor และ outdoor (อย่างหนาว) แต่พอลงแช่ก้อค่อยหายหนาว เหลือบข้างๆ  คุณพ่อชาวญี่ปุ่นยังพาลูกยังเล็กมาแช่ด้วยเลย




เช้า 27 มีค. แวะย่าน ทานุกิโคจิ  ซึ่งเป็นแหล่งรวมร้านค้าต่าง อาทิ  UNIQLO DAISO DONGI ให้พวกเราได้ช้อปปิ้ง  จนได้รองเท้าโอนิซึกะ ที่ห้าง Parco  


ก่อนมุ่งหน้าไปดูงานโรงเบียร์  ASAHI อาซาฮี แหล่งผลิตเบียร์ต้นตำรับ ที่นี่มีการใช้กระบวนการด้วยระบบสายพานและเทคโนโลยีทั้งหมด โดยใช้คนเพียง 50 คน จากการใช้วัตถุดิบ 3 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าแทบ100% มีการตรวจชิมคุณภาพรสชาติเบียร์ทุกวันก่อนเที่ยง เราได้ชิม เบียร์  superdry premium super dry และเบียร์ดำ ที่สำคัญมีกระบวนการรีไซเคิลถังเบียร์สด และพลาสติกที่เหลือใช้สามารถนำมาผลิตเป็นเสื้อให้พนักงานใส่ได้อีกด้วย 



เช้าวันที่ 28 มีค. เราได้ไปดูศาลากลางจังหวัดฮอกไกโดที่สร้างด้วยอิฐแดงสมัยเก่า สภาพสมบูรณ์ เก่าแก่กว่า 80 ปี ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ และศูนย์ข้อมูลข่าวสาร จากนั้น จึงไปดูงาน The Sapporo Recycling Complex หรือ ศูนย์จัดการสิ่งแวดล้อมและคัดแยกขยะซัปโปโร ซึ่งที่เราไปดู คือ 1 ใน 8 หน่วยงานที่อยู่ในเขตนี้ เป็น โรงรวบรวมและบดอัดขยะพลาสติก โดยจะรวบรวมขยะประเภทพลาสติก มาลำเลียงผ่านสายพาน และคัดแยกอีกครั้งด้วยแรงงานคน ก่อนที่จะถูกบดอัดเป็นก้อน และนำส่งยัง บริษัท รีไซเคิล เพื่อที่ขยะพลาสติกจะถูกปั่นเป็นชิ้นเล็กๆ และถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต่อไป

บ่ายๆ คณะพาไป Kiroru  Ski Resort เป็นสกีรีสอร์ท โดยมีโรงแรมเชอราตัน ฮอกไกโด อยู่ติดกัน  เป็นแหล่งเล่นสกีชื่อดัง พวกเราต่างจัดแต่งเสื้อผ้าแบบจัดเต็ม เพราะอุณหภูมิ  ประมาณ 6-7 องศา เสียดายที่ตอนคณะเราไปมีลมแรง ทางจนท.จึงงดการนั่งกระเช้า เพราะอาจก่อให้เกิดความอันตรายได้ (ที่ญี่ปุ่นนี้เซฟตี้เป็นเรื่องใหญ่มาก) จึงเปลี่ยนมาเล่นถาดเลื่อนหิมะ พวกเราก็ทยอยลากถาดเลื่อนหิมะ จากที่สูง ให้ไถลไปไกลที่สุด จัดไป 7-8 ครั้ง ก็สนุกๆ ลื่นๆเพลินๆดี




กลับมาเข้าเมืองถึงช่วงงานเลี้ยงสำคัญ ที่ทาง SCB จัดให้พวกเรากรุ๊ป 1 และกรุ๊ป 2 (กรุ๊ปที่มาวันที่ 26 มีค. ) ได้พบปะกัน โดยมีผู้แทนจากองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนหลากหลายมากมาย "...เพื่อเป็นเครือข่ายกันไว้ โดยที่ SCB ยินดีเป็นสื่อกลางในการพัฒนา SME ทั่วประเทศ มี Business Center ของ SCB เป็นตัวเชื่อม ..." บางส่วน จากคำบอกเล่า โดย พี่จอก ผช.กก.ผู้จัดการใหญ่อาวุโส กล่าวชี้แจง วัตถุประสงค์ของการมา  จากนั้นจึงเปิดเวที ให้ได้ทำความรู้จักกัน โดย ท่านรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวเปิดอย่างเป็นทางการ และพิธีกร อ.กุ้ง กล่าวแนะนำกันทีละองค์กร คราวนี้ มากันเต็มเลย ทั้ง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ สภาอุตสาหกรรม หอการค้า สมาพันธ์ sme เครือข่ายธุรกิจ Biz Club BNI OtopTrader YEC SMI UBI สกอ. ปตท. สสว. Central lab สถาบันพลาสติก สนง.ศก.ดิจิตอล TCDC SCG  CPF TCC ISMED TAT HITACHI สถาบันรหัสสากล กรมชลประทาน และบริษัท เอกชน อีกมากมาย ที่เอ่ยนามไม่หมด




ปิดท้ายทริป ด้วยการได้รับเกียรติจากไกด์ กิติมศักดิ์ พี่สมุทร กรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวผู้ทรงคุณวุฒิ เขตอิชิคาริ ฮอกไกโด ที่พานำเที่ยวดูชีวิตยามค่ำคืนของชาวญี่ปุ่น ใน "ย่านซูซูกิโนะ" ของเมืองฮอกไกโด ได้ไปตรอกราเมง ชิมราเมง ร้านชิราคาเบะ ต้นตำรับ ปี 1951 ที่่นี่จะมีไข่ต้มให้เราทานก่อน 1 ฟอง เพื่อเป็นปรับสภาพรสชาติของลิ้นเราก่อนทานจริง (หากทานอะไรมาก่อนหน้านี้ แล้วทานบะหมี่เค้าไม่อร่อย จะทำให้เค้าเสียชื่อเสียงได้) และต่ออีกร้าน (เผอิญพี่โต๊ดมาสมทบเพิ่ม) จึงจัดไปกับร้านราเมง  การันตี ด้วยรางวัลมิชลิน สรุปคือ ก็อร่อยทั้งคู่แต่คนละสไตล์กัน จากนั้นเดินชมวิถีชีวิตของคนทำงานญี่ปุ่นหลังเลิกงาน เชียร์ลีดเดอร์ กระต่ายบันนี่  หรือการแสดง street art ต่างๆตามข้างทางถนนที่ผู้คนหลั่งไหลยิ่งดึกคนยิ่งเยอะ....อย่างเพลิดเพลินมากมาย :)



สุดท้ายขอขอบพระคุณพี่จอก พี่หน่อง พี่กุ้ง พี่พงษ์ น้องจิ๊บ ทีมงาน SCB และความจริงใจที่จะร่วมส่งเสริม และพัฒนา ผู้ประกอบการ SMEs ไทย ให้แข็งแกร่งยิ่งๆขึ้น ร่วมกัน...ไปด้วยกันไปได้ไกล

ขอขอบพระคุณฆ SCB มากๆ คร๊าบบบ