“สจว.”
ชื่อนี้ คงคุ้นหู กับ ผู้ที่คร่ำหวอดกับการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ อยู่บ้าง
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (สจว.สปท.) คือ สถาบันการศึกษา ในรั้วเดียวกับ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
(วปอ.) มุ่งอบรมประสาทความรู้วิทยาการด้านต่างๆ
เพื่อเสริมสร้างความเป็นนักสื่อสารปฎิบัติจิตวิทยา
และเสริมสร้างความมั่นคงแก่ประเทศ
เสน่ห์ที่สำคัญ
คือการได้มีโอกาสได้ศึกษาร่วมกับพี่ๆ ผู้เรียนจาก ทุกเหล่าทัพ ข้าราชการพลเรือนจากกระทรวงต่างๆ
และนักธุรกิจภาคเอกชน รวมกว่า 90 คน เรียนระยะเวลา 7 เดือน โดยสถาบันฯได้ดำเนินการเรียนการสอนมาแล้ว
มีรุ่นพี่ รุ่นน้อง มากถึง 118 รุ่น (เรียกว่ายาวนานเก่าแก่มาก) มีคนดังๆที่ผ่านหลักสูตรนี้มากมาย ที่สำคัญ
ได้มีโอกาสได้ไปศึกษาดูงานในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยมี ผู้นำสถาบัน “พลตรี มนัส
แถบทอง” เป็นผู้อำนวยการสถาบันฯ ที่คอยดูแล และใกล้ชิดกับนักศึกษาทุกคน
และรุ่นนี้
คือ รุ่น 119 จากที่ไปดูงานกรุงเทพ ภาคตะวันตก และภาคเหนือ (ซึ่งเราก็ได้ดูในสิ่งที่เราไม่เคยรู้
ไม่เคยได้ดูเหมือนหลักสูตรอื่นๆมาก่อน โดยเฉพาะสถานที่สำคัญๆ ของกองทัพ) ครั้งนี้จึงมาถึง
ภาคตะวันออก และการดูงานต่างประเทศครั้งแรก …คือ “ราชอาณาจักรกัมพูชา”
วันอังคารที่
28 พค.62 เราเดินทางจากโรงงานประกอบรถยนต์โตโยต้า บ้านโพธิ์ (เจ้าภาพพี่ดุ๊ก) และ
ศูนย์ฝึกอบรมบรรเทาสาธารณภัย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (ศฝภ.นทพ.) (เจ้าภาพพี่แดง) จ.ฉะเชิงเทรา
ตามลำดับ เรามุ่งหน้าเดินทางพักแรมที่ โรงแรมสเตชั่น อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
เช้าวันรุ่งขึ้น
7.30 มุ่งหน้าผ่านด่านปอยเปต ด่านตรวจคนเข้าเมืองราชอาณาจักรกัมพูชา ผ่านด่าน
แวะร้านค้างานปั้นทราย ระหว่างมุ่งหน้าเข้าเมืองเสียมเรียบ และทานอาหารบุฟเฟ่ต์สไตล์ผสมไทย-เขมร
ที่ร้าน Tonle Sap หลายหลากดี (คุ้นเคยมากเพราะเป็นร้านประจำของทุกทริป) จากนั้น จึงเข้าชม
1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่พลาดไม่ได้ “ปราสาทนครวัด” ซึ่งไฮไลท์ นอกเหนือจากการสัมผัสความยิ่งใหญ่ของการก่อสร้างที่มหัศจรรย์แล้ว
ก็คือ การชมภาพสลักรูปนูนสูงบนผนังด้านใน ที่มีเรื่องราวมาจากมหากาพย์และคัมภีร์พระเวทของศาสนาฮินดู ภาพสลักกองทัพชาวสยาม ภาพของนางอัปสรในลักษณะต่างๆ
และการเข้าสู่ปราสาทชั้นใน สู่การสักการะพระพุทธรูปในปรางค์ประธาน (ซึ่งมีความเชื่อเล่าต่อกันว่าให้มาอธิษฐานและจะสมความปรารถนา)
ต่อจากนั้นได้เคลื่อนย้ายเพื่อไปเข้าชมปราสาทบายน เสียดายที่ฝนตก
จึงต้องเปลี่ยนแผนเดินทางต่อ
และก้อมาถึงที่พัก โรงแรม Royal Empire Hotel เป็นครั้งแรกที่ได้นอน เสียมเรียม
ทำให้ได้มีโอกาสทัศนศึกษา Pub Street แหล่งท่องเที่ยวที่สร้างรายได้แก่จังหวัดเสียมเรียบอีกทาง
(ดีจุง) แลกเงิน เป็นเงินสกุลเรียลเป็นที่เรียบร้อยจึงเดินเล่นได้ (ตก 100 บาท ได้
10,000 เรียล เวลาซื้อของให้หาร 100 เลย)
และวันสำคัญของทริปนี้ 30 พค.62 หลังจากที่ได้ชม “โตนเลสาบ” (Tonle Sap)
ทะเลสาบน้ำจืดที่เกิดจากแม่น้ำโขง ถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย ครอบคลุมพื้นที่
ถึง 5 จังหวัด เป็นแหล่งน้ำที่หล่อเลี้ยงที่มีความสำคัญยิ่งของคนกัมพูชา ได้รับชมวิถีชีวิต
เรือนกลางน้ำ และบ้านเรือนที่มีการยกสูงกว่า 4 เมตร (ป้องกันเวลาน้ำท่วม) ในตอนเช้าเรียบร้อย
ตอนบ่าย กิจกรรมที่สำคัญของพวกเราก็มาถึง “วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล” ...โดยมีเป้าหมาย คือการได้ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์
และเพื่อมาศึกษาถึงพระราชกรณียกิจ ที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรฯ
ได้ทรงได้สร้างไว้ที่กัมพูชา นี่
.... Dr.Pech Seang ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีกำปงเฌอเตียล กล่าวต้อนรับ
และได้เล่าประวัติความเป็นมาให้พวกเราทราบว่า “...วิทยาลัยแห่งนี้ ถือเป็นของขวัญล้ำค่า
ที่มีความยั่งยืน แก่ชาวกัมพูชา ได้สร้างตั้งแต่ ปี 2000 ภายใต้พื้นที่ 118 ไร่
ห่างจากชายแดนไทย 300 กิโลเมตร โดยสมเด็จพระเทพ ได้เสด็จพระราชดำเนินมากัมพูชาอย่างเป็นทางการ
เมื่อ 10 พย 2005 และเสด็จมาเปิดสถาบันฯ อย่างเป็นทางการ 24 กุมภาพันธ์ 2016 รวมมีระยะเวลาในการเปิดเรียน
มาแล้ว 3 ปี มีวิสัยทัศน์ คือ เป็นสถาบันผู้นำด้านเทคโนโลยีอาชีวศึกษาชั้นแนวหน้าของประเทศ
ผลิตคนทำงาน มีทักษะ วิชาชีพ และสร้างพลเมือง เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน มีพันธกิจ
5 ด้าน คือ 1 ผลิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ระดับวิชาชีพ 2 ฝึกอบรมครูวิชาชีพ จากโรงเรียนต่างๆ
3. ศึกษาเทคโนโลยีที่เหมาะสม การเกษตร 4. บริการชุมชนในด้านเทคโนโลยี การซ่อมบำรุง
การเกษตร การเลี้ยงสัตว์ และ 5. เพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรม และโบราณสถาน
มีผู้บริหาร จำนวน 21 คน ฝ่ายสนับสนุน
20 คน อาจารย์ 69 คน รวม 110 คน เป็นสถาบันอุดมศึกษาระดับวิชาชีพ มีการศึกษาวิชาชีพ
8 ภาควิชา ทั้งในระดับปวช ปวส และมัธยม 6 ปริญญาตรี ปัจจุบันมีอบรมในระดับอบรมครูวิชาชีพ ครูช่าง จำนวน
39 คน ระดับอุดมศึกษา 41 คน ระดับ ปวส 63 คน และนักเรียนโรงเรียนสาธิต 966 คน
รวมทุกระดับ 1,109 คน ที่สถาบันแห่งนี้
จบม.3 มาสมัครเรียนได้ จุดเด่น คือ เรียนได้ทั้งสายสามัญ และสายปฎิบัติ (ปวช)
เรียนฟรี จนจบการศึกษา โดยมีบริษัทเอกชนต่างๆในไทย ได้มาเป็นพันธมิตรในการพัฒนาการศึกษาเพิ่มเติม
อาทิ ซีพี โตชิบ้า เบทาโก เป็นต้น
นอกจากนี้ พันโท ทนงชัย สุกใส ล่ามและผู้ประสานงานโครงการ
ได้เล่าให้พวกเราฟังเพิ่มเติม “สมเด็จพระเทพฯ ทรงพระราชทานเงินในการก่อสร้าง
อาคารต่างๆ โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2544 นอกจากนี้ และนับแต่ปี 2547 เป็นต้นมา พระองค์ ทรงได้พระราชทานทุนแก่นักศึกษากัมพูชาให้ไปเรียนที่ประเทศไทย
ทั้งในระดับ ปวช ป.ตรี ป.โท และป.เอก รวมกว่า 1,000 คน
และเมื่อวันที่ 22 สค. 2548 พระองค์ทรงพระราชทาน แนวทางการดำเนินงานการบริหารโรงเรียน
ให้การมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาในประเทศกัมพูชาแก่คณะกรรมการร่วมทั้งสองฝ่าย 4 ประการ คือ 1. ต้องการให้นักเรียนมีความรู้ ประกอบอาชีพได้
2. มีคุณธรรม 3. มีความสมบูรณ์ของร่างกาย 4.เป็นบุคลากรที่พัฒนาสร้างชาติ ...” โดยมีการคัดเลือกคณะกรรมการฝ่ายไทย และกัมพูชา มาทำงาน เพื่อสนองพระราชบัญชา ร่วมกัน
จากนั้น สมาคมสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง และคณะนักศึกษา สจว.รุ่น 119 ก็ได้ร่วมกัน มอบเครื่องใช้ต่างๆ พร้อมทุนการศึกษาแด่น้องๆ นักเรียนสถาบันฯ
ที่สำคัญ จากการพูดคุยนอกรอบ กับน้องๆ รู้สึกได้เลยว่า น้องๆ ซาบซึ้งและขอบพระคุณน้ำพระทัยของสมเด็จพระเทพฯ
เป็นอย่างมาก ทำให้เราเข้าใจได้เลยว่าสิ่งนี้ เป็นแนวทางหนึ่งที่พระองค์ทรงให้ความสำคัญของการพัฒนาแบบองค์รวม
แบบอนุภูมิภาค และส่งทอดต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
กรัณย์ สุทธารมณ์
สจว.119