สำนักงานเลขาธิการอาเซียน
ในบทบาทความเป็นมาเป็นไปของ AEC…. ASEAN
โดย ดร.พิชญา ศิริวรรณบุศย์ ถอดความโดย กรัณย์ สุทธารมณ์
ณ สำนักงานเลขาธิการอาเซียน กรุงจาการ์ต้า อินโดนีเซีย
ข้อมูล ณ วันที่ 12 มิถุนายน 2556
เช้าวันที่ 12 มิถุนายน 2556 หลังจากที่พวกเรา คณะศึกษาดูงานจากสถาบันพระปกเกล้า AEC รุ่น3 ในนามกลุ่ม Indo 1-3 ได้ไปรับฟังการบรรยายสรุปที่ KOMUNIKASI DAN INFORMATIKA REPUBLIK INDONESIA หรือที่เรียกว่า คือ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ ของประเทศอินโดนีเซีย เป็นที่รับทราบเกี่ยวกับทิศทางของการวางแผนในส่วนงานที่เกี่ยวกับ DIGITAL TV แล้ว ในช่วงบ่ายเราเลยมาขออนุญาต รศ.ดร.ขจิต จิตตเสวี อาจารย์ที่ปรึกษาในการเข้าแวะเยี่ยมชมสถานที่ที่ถือเป็นหัวใจการขับเคลื่อนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่สำคัญอย่างยิ่ง ยิ่งเมื่อได้มาถึงจาการ์ต้าแล้วนั้น ไม่ควรพลาด!!! นั่นคือ สำนักงานเลขาธิการอาเซียน (ASEAN) โดยการประสานที่สำคัญจาก ดร.พิชญา ศิริวรรณบุศย์ (ดร.แอน) Assitant Director of ASEAN (โดยอาศัยความสนิทสนมกว่า 20 ปี ) ซึ่งต้องขอขอบพระคุณในความกรุณาจาก ดร.แอน อย่างยิ่งมาในโอกาสนี้ เมื่อมาถึง ดร.แอน พาพวกเรามาที่ห้องประชุม ชั้น 2 ของอาคาร พร้อมบรรยายโดยสรุปให้พวกเราฟัง......
สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) อาเซียนจัดตั้งสำนักงานเลขาธิการอาเซียน ขึ้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2519 หลังจากการลงนามในข้อตกลงการจัดตั้งสำนักงานเลขาธิการอาเซียนที่กรุงจาการ์ตา
ประเทศอินโดนีเซีย ต่อมาในวันที่ 9 พฤษภาคม 2524
รัฐบาลอินโดนีเซีย ได้มอบอาคารทางตอนใต้ของกรุงจาการ์ตาเพื่อใช้เป็นสำนักงานใหญ่
ของสำนักงานเลขาธิการอาเซียน
อาคารดังกล่าวจึงถูกใช้เป็นสำนักงานใหญ่ถาวรของอาเซียน นับตั้งแต่นั้น ทำหน้าที่ในการติดตามการทำตามคำตัดสิน
ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศเพื่อนๆ สมาชิกอาเซียนด้วยกัน
แล้วนำผลที่ได้ไปรายงานให้ผู้นำของประเทศเพื่อนๆสมาชิกได้รับทราบ ปัจจุบันมี เล
เลือง มินห์ อดีตรมช.ต่างประเทศและนักการทูตชาวเวียดนาม รับหน้าที่เป็นเลขาธิการอาเซียนคนที่
13 ปี 2013-2018 โดยเป็นการรับตำแหน่งต่อจาก ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ
เลขาธิการอาเซียนคนที่ 12 จากประเทศไทย
ทั้งนี้ การ Implementation จะแบ่งได้เป็น 4 ระยะ นับตั้งแต่ปี 2008
ซึ่ง AEC ได้เริ่มเซ็นความตกลงกันในปี
2007 จึงมีการดำเนินงานมาตั้งแต่ ปี 2008 – 2015 โดยจะมีการติดตาม Implementation
Rate ว่ามีความก้าวหน้าอย่างไร ปัจจุบันกำลังอยู่ในระยะที่
3 ของการติดตามความก้าวหน้า ทั้งนี้การติดตามความก้าวหน้าของ AEC
นั้น จำเป็นต้องเข้าใจมิติต่างๆในภูมิภาค ซึ่งอาจจำแนกเป็นภาพส่วนต่างๆของ
เศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน ได้ดังนี้
·
สถานการณ์เศรษฐกิจของโลก
GDP Growth จากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจยุโรปตกต่ำในปี
2008 ทำให้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เศรษฐกิจโลก จึงมีภาวะดีขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย
แต่ยังอ่อนแออยู่ การกระจายของการฟื้นฟูทางศก.ไม่เท่ากัน จะพบว่ามีกระจุกตัวอยู่ที่
ASEAN โดยเฉพาะจีน อินเดีย ประเทศในอาเซียน
มากกว่าประเทศที่กลุ่มพัฒนา เช่น ยุโรป หรืออเมริกา แม้ว่าศก.โลกจะมีการขยับตัวสูงขึ้น
แต่ก็ยังมีความเสี่ยงด้านการคลัง คือการใช้เงินด้านการคลัง ระเบียบทางการคลัง โดยจะเห็นได้จากท่าทีของประเทศอเมริกาที่จะมีการถอดทางมาตรการ
QE แต่สำหรับในส่วนยุโรปแม้ว่าจะดีขึ้น แต่ก็ยังมีวิกฤตอยู่ และบางประเทศจากที่ไม่ได้มีวิกฤตก็เริ่มเข้าวิกฤต
ซึ่งยังคงต้องจับตามองว่าต่อจากนี้จะเป็นไปในทิศทางไหน แต่สำหรับญี่ปุ่นก็มีการใช้นโยบายการกระตุ้น Demand ภายในประเทศ ก็อาจจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น
·
การคาดการณ์เศรษฐกิจอาเซียนในปี
2013
เศรษฐกิจอาเซียนในภาพรวมปี 2012 ยังคงเติบโตอยู่ในระดับ
5.6 ส่วนปีนี้ 2013 มีการคาดการณ์ว่าอัตราการเจริญเติบโตเศรษฐกิจทั้งปีน่าจะอยู่ 5.3
- 6 % สำหรับประเทศในอาเซียน
5 (ASEAN 5) ซึ่งประกอบด้วย ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และสิงค์โปร์ ยังถือว่ายังอยู่ในระดับที่โตขึ้น คือระดับที่ 5.2
ส่วนประเทศที่มีอัตราเจริญสูงมาก คือในประเทศใหม่
ได้แก่ ประเทศกัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม เติบโตสูงมาก
แต่ส่วนหนึ่งก็เพราะมาจากฐานต่ำ เศรษฐกิจอยู่ในช่วงการพัฒนา ที่สำคัญปัจจัยที่ทำให้ยังคงดำเนินอยู่ได้นั้นมาจาก
Strong Domestic Demand ในภูมิภาค คือ
ความต้องการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค และความต้องการการลงทุนในประเทศ
รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ GMS ได้แก่ ไทย กลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง พม่า และอินโดนีเซีย
ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ศก.ในกลุ่มภูมิอาเซียนไม่ได้ตกต่ำ อีกปัจจัยที่สำคัญคือ
ประเทศที่มีลักษณะของการเปิดเขตการค้าเสรี อาทิ ประเทศมาเลเซีย หรือ ไทย
และสิงคโปร์ ประเทศเหล่านี้จะได้รับผลกระทบจากวิฤกติเศรษฐกิจโลก เพราะเมื่อสินค้าส่งออกได้รับผลกระทบ
ก็จะทำให้เศรษฐกิจลดลงได้ แต่ในปีนี้ 2013 น่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น
ดังนั้นทิศทางของกลุ่มประเทศภูมิภาคอาเซียนจึงกำลังมาให้ความสำคัญกับการกระตุ้นความต้องการภายในประเทศมากขึ้น
ส่วนเงินทุนที่ไหลเข้าในกลุ่มประเทศอาเซียนนั้น ปี 2011 อยู่ที่ 108 พันล้าน (Billion) แต่ในปี 2012 ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ
107 พันล้าน (Billion) (ซึ่งยังคงเป็นข้อมูลที่ไม่รวมประเทศบูรไนกับพม่า) เงินทุนที่เข้ามาส่วนใหญ่จะเข้ามาในตลาดพันธบัตร
(Bond) ในขณะที่ตลาดหุ้นภายในภูมิภาคก็มีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน
โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ ASEAN FIVE ส่วนใหญ่จะลงทุนไปที่ประเทศสิงคโปร์
ประมาณ 56 พันล้าน ถือเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาค อันดับ 2 ได้แก่ อินโดนีเซีย
20 พันล้าน มาเลเซีย 9.4 พันล้าน และประเทศไทย 8.6 พันล้าน (อันดับที่
4) ตามลำดับ (อาจด้วยสาเหตุปัญหาภายในประเทศ ในขณะที่ประเทศอินโดนีเซียสามารถพัฒนาการผลิตได้ใกล้เคียงประเทศไทย
และมีต้นทุนต่ำกว่าเกือบครึ่งหนึ่ง คือค่าแรงประมาณ 150 บาทต่อวัน)
ด้านเงินเฟ้อ ในภูมิภาคยังไม่ปรากฏที่เป็นลักษณะปัญหาที่ชัดเจนมากนัก ในขณะที่เคยมีประเทศที่มีปัญหา คือ เวียดนาม ซึ่งสามารถแก้ไขได้แล้ว
เมื่อปี 2011 อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 12 % แต่ในปี 2012 ปรับอยู่ที่ระดับ 6-7 % ส่วนประเทศบรูไนเป็นประเทศที่มีเงินเฟ้อต่ำที่สุดในอาเซียน คือ 0.4
% สำหรับประเทศไทยอยู่ที่ 3 % ทั้งนี้ในระดับภูมิภาคอาเซียนอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับ 3.2 %
·
นโยบายอาเซียนที่ได้ปรับเปลี่ยนล่าสุด (ทำอะไรไปบ้าง และสิ่งใดที่ควรต้องทำ)
นับตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา ประเทศในอาเซียนได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อที่จะกระตุ้นทั้ง
การบริโภคและการลงทุน แต่ก็มีแนวโน้มที่จะเริ่มคงตัวมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศสิงคโปร์ที่ระดับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำมากแล้ว
รวมถึงประเทศมาเลเซีย ซึ่งก็ที่มีการใช้มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศร่วมไปด้วยแล้วเช่นกัน
Physical Deposit ปัจจุบันก็ยังคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากที่ประเทศในภูมิภาคอาเซียนต้องการกระตุ้น
Demand จากผลพวงที่เคยเกิดขึ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ
ในขณะที่ภาพรวมในรอบ 10 ปี ยังถือว่ายังไม่สูงมาก สิ่งที่น่าสนใจ คือ
หนี้สินภาครัฐของแต่ละประเทศในภูมิภาคมีแนวโน้มลดลง
ถือว่าสถานะทางด้านการคลังของทั้งภูมิภาคยังอยู่ในระดับที่ปกติ
Balance of Trade ส่วนใหญ่มีการลดลงเนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตศก.
สำหรับอาเซียน EU. ถือเป็นคู่ค้าที่มีความสำคัญที่สุด ฉะนั้นเมื่อ EU มีปัญหาจึงส่งผลกระทบต่อการค้าในภูมิภาค แต่ในปี 2013 ได้เปลี่ยนประเทศคู่ค้าสำคัญเป็นประเทศจีนแทน ในขณะที่ปริมาณการค้าของแต่ละประเทศในภูมิภาค
ปี 2012 มีการเติบโตขึ้น 5.3-6 % และสำหรับในปี 2013 น่าจะสูงขึ้น แต่ก็ต้องระวังวิกฤตเศรษฐกิจจากประเทศยุโรป ส่วนอเมริกาแม้ว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น
แต่ก็ต้องจับตาว่ามีมาตรการทางด้านการคลังอย่างไรต่อไป
ที่สำคัญคือ นอกจากมาตรการด้านภาษีที่มีการลดให้กันจากการรวมกลุ่มของประเทศใน
AEC แล้ว
ก็ควรจะคิดว่านโยบาย หลังปี 2015 ว่าควรจะมีอะไรเพิ่มเติมอีก ประชาคมอาเซียนควรจะมียุทธศาสตร์ หรือ Blueprint
อะไรอีกหรือไม่ อย่างไรต่อไป
·
การติดตามผลความก้าวหน้าของอาเซียน (มีอยู่ 4 ระยะ
ปัจจุบันอยู่ในระยะที่ 3)
Implementation Rate โดยระยะแรก อัตราความก้าวหน้าอยู่ในระดับ
89.5 % ทั้งนี้ยังมีสิ่งที่ยังไม่ได้ทำและยังมีปัญหาอยู่
คือ ความร่วมมือทางภาคบริการและภาคการขนส่ง เนื่องจากจำเป็นต้องอาศัยการลงนาม
การตกลงร่วมกันของแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นจุดอ่อนไหวต่อผลประโยชน์ระหว่างกัน จึงทำให้ใช้เวลามาก
(Air Transport/ Maria)
สำหรับระยะที่สอง มีอัตราความก้าวหน้าในระดับ
72.1 % ที่ยังคงเป็นปัญหา คือ
การอำนวยความสะดวกในด้านศุลกากรและภาคบริการ ด้านการขนส่ง ถือเป็นสิ่งมีอุปสรรคค่อนข้างสูง
เพราะจะเกี่ยวพันกับการผ่านชายแดน การข้ามประเทศ ทำให้ต้องระยะเวลามีการตกลงกันมาก
และในระยะที่สาม มีอัตราความก้าวหน้าในระดับ 73 % เนื่องจากภารกิจหลายอย่างที่ได้มีการตกลงและได้นำปฎิบัติเป็นที่ล่วงหน้าแล้ว
(ณ พค.56)
รวมทั้ง 3 ระยะ มีอัตราความก้าวหน้าของความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียนในระดับ 77.8
% (ซึ่งหากคิดว่าเหลือเวลาอีก 2 ปี ก็อาจถือได้ว่ายังคงน้อยอยู่)
·
นโยบายที่รัฐบาลของทั้ง
10 ประเทศ ที่ควรให้ความสำคัญ (ณ เดือน พค. 56)
ปัญหาที่สำคัญในการร่วมกลุ่มอาเซียน
1. การลงนามที่ล่าช้า บางประเทศต้องผ่านรัฐสภา หรือต้องอาศัยการลงนามทั้ง 10
ประเทศ กว่าจะลงนามเพื่อนำไปใช้ได้ เป็นต้น
2. มาตราที่ที่ความคิดริเริ่มจะมีการตกลงกันในระดับบน แต่เมื่อนำมาสู่ระดับประเทศหรือภาคปฎิบัติ
บางครั้งไม่เหมาะกับกฎหมายหรือข้อปฎิบัติของแต่ละท้องถิ่นนั้นๆ
บางประเทศต้องกลับไปแก้กฏหมาย เพื่อให้สามารถตกลงในประเด็นนั้นๆได้ เช่น
ในประเด็นของ Capital Market บางประเทศให้
บางประเทศไม่ให้ ต้องกลับไปทำการตกลงกันในกลุ่ม
3. บางประเทศก็มีความเต็มที่กับการร่วมมือของ AEC แต่บางประเทศก็เฉยๆ กับการร่วมลงนาม หรือบางประเทศกำลังยุ่งกับการพัฒนาภายในประเทศของตนเอง
โดยเฉพาะประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงๆซึ่งภาครัฐก็ต้องใช้เวลาไปกับการควบคุมการบริหารจัดการภายใน เช่นประเทศพม่า เวียดนาม
ในขณะที่บางประเทศก็ให้ความสนใจกับการร่วมมือกลุ่มประเทศอื่นมากกว่า เช่น
ประเทศมาเลเซียให้ความสนใจกับ TPP (Trans
Pacific Partnership) มากกว่า AEC หรือประเทศอินโดเซีย ให้ความสนใจกับ
G20 เพราะอินโดนีเซียเป็นประเทศเดียวที่อยู่ใน
G20
ข้อแนะนำสำหรับการรวมกลุ่มอาเซียน
1.
ประเทศในกลุ่มอาเซียนต้องให้ความสำคัญว่ามาตรการไหนที่เกี่ยวข้องกับ
AEC ควรจะทำก่อนและรีบทำให้เสร็จ ก่อนที่จะถึงปี
2015 (ซึ่งแต่ละประเทศก็มีความพยายามทำอยู่และส่งรายละเอียดมาให้ทางสนงฯ
เพื่อให้ทราบความก้าวหน้า)
2. ระบบการควบคุมติดตาม (Monitoring System) มีไม่เพียงพอ ไม่ซับซ้อน ยังดีไม่พอ
แม้ว่าจะมีความร่วมมือจากภายนอกภูมิภาคที่ให้การสนับสนุน เช่น World Bank, GIZ ที่เข้ามาและให้ทุนในการศึกษาเกี่ยวกับระบบติดตาม
AEC
3.
ช่องว่างกับการพัฒนาความร่วมมือของประเทศในกลุ่มอาเซียน
โดยเฉพาะกับประเทศที่เข้ามาใหม่ CLMV กัมพูชา ลาว พม่า
เวียดนาม กับประเทศที่มีระดับความก้าวหน้า
เช่น ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย โดยเฉพาะในด้านการบริการและด้านการเงิน
Financial Sector
ในวันนี้ผมได้เห็นแล้วว่า แม้ว่าการร่วมมือกันของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะกำลังคืบหน้าไปมากแล้ว
แต่ก็ยังประสบปัญหา ข้อจำกัดในระดับภาคปฎิบัติและกฏเกณฑ์ของท้องถิ่นในแต่ละประเทศ
หากแต่เป้าหมายสำคัญของการรวมกลุ่มนั้น
จะไม่เพียงส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทางด้านเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว
ประวัติศาสตร์ทางด้านวัฒนธรรมและศาสนาที่ยาวนานนับเป็นพันๆปี นั้น
จะยังได้รับโอกาสรื้อฟื้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศกลับมาอีกครั้ง
และนั้นหมายความถึงว่า มิติใหม่ของความเป็นมิตรภาพทางสายเลือด ในกลุ่มภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้
กลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง จะยืนหยัดความเป็นปึกแผ่น
และเป็นศูนย์กลางแห่งมิตรภาพของโลกท่ามกลางคุณภาพชีวิตที่ดี ของมวลมนุษยชาติต่อไป