วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

ดินแดนแห่งความหลากหลาย…เซลลามัต ปากี @Malaysia

ดินแดนแห่งความหลากหลาย…เซลลามัต ปากี @Malaysia (12-15 มีค.59) W/PSS14


      “ประเทศมาเลเซีย” ประเทศที่นำเสนอความหลากหลายของศิลปะวัฒนธรรม และชนชาติแห่งชาวเอเชีย ภายใต้สโลแกน "Truly Asia"

      ซึ่งกาลครั้งหนึ่งเมื่อ 15 ปีที่แล้ว (อายุประมาณ 24 ปี ...นานมากก) ได้เคยมาเยือนครั้งหนึ่ง เพื่อไปศึกษาดูงาน ด้าน Losigitic (ซึ่งเป็นเรื่องใหม่มากๆในสมัยนั้น) กับคณะสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นำโดย คุณธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ด้านเศรษฐกิจและโลจิสติกส์

มาวันนี้ กลุ่ม 8 ซึ่งทำรายงานเกี่ยวกับยานยนต์พลังงานไฟฟ้า และต้องไปดูงานประเทศในกลุ่มประเทศที่มีแนวโน้มในการพัฒนาด้านดังกล่าว “มาเลเซีย - สิงค์โปร์” จึงถูกกำหนดให้พวกเราร่วมกับกลุ่ม 6 กลุ่ม 7 ของหลักสูตรการบริหารเศรษฐกิจสาธารณะสำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 14 (ปศส.14) สถาบันพระปกเกล้า ไปศึกษาดูงาน โดยมีอาจารย์ผู้ควบคุมคณะ คือ “ศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร” …สุดยอดกูรูของประเทศเลยทีเดียว !!!!



เช้าของวันที่ 12 มีนาคม 59 ...พวกเรา นศ.จำนวนกว่า 36 คน จึงได้ทยอยมารวมตัวกัน เพื่อเดินทางโดยสายการบิน TG 415 กรุงเทพ - กัวลาลัมเปอร์ เครื่องออกเกือบ 9 โมง ประมาณ 11 โมง (2ชม.) ก็มาถึงสนามบินกรุงกัวลาลัมเปอร์ ...และผู้ที่รับหน้าที่ทำความรู้จัก ระหว่างเรากับมาเลเซียในครั้งนี้ คือ คุณสักการียา หรือ ไกด์เค้ก และไกด์จิมมี่ ไกด์ชาวมาเลเซีย โดยเริ่มจากการให้ข้อมูลเมืองแรกที่เรานั่งรถผ่าน คือ เมืองปุตราจาย่า (Putrajaya) เมืองราชการใหม่ของมาเลเซีย ที่ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด สร้างให้เป็นเมืองแห่งความทันสมัย และเมืองแห่งอนาคต มีสถานที่สำคัญมากมาย ทั้งส่วน ของ Cyber Space หรือ ที่ตั้งของทำเนียบนายกรัฐมนตรี จากนั้น.... ไกด์ได้พาเราเรียนรู้ภาษามาเลพื้นฐาน อาทิเช่น   “จิ๋ม แปลว่า หอย  พร้อม แนะนำชื่อชาวมาเล เช่น เอาซิยะมันดี หรือ มีรูนะ รอดอมาแงะ  เป็นต้น 18++ ซึ่งก็สร้างความขำขัน เฮฮาให้กับสมาชิกบนรถบัส ฮาครึ้นๆ เป็นทุกครั้งไป จากนั้น ไกด์จึงพาเรามายังสถานที่ท่องเที่ยวแรกในทริปนี้ คือ "มัลยิดปุตรา" เป็นมัสยิดที่มีจุดเด่นที่โดมสีชมพู ก่อสร้างด้วยหินแกรนิตสีกุหลาบ สามารถจุคนได้ถึง 15,000 คน 




...ที่นี้ เราเริ่มที่จะสัมผัสวิถีของคนมาเลที่แต่งกายและเข้ามาทำพิธีทางศาสนาที่นี้ได้ทั้งวัน นอกจากนี้ ได้ไปเที่ยวเก็นต้ิง แหล่งดูดเงินนทท.ที่สำคัญ (ประวัติผู้สร้างเก็นติ้นน่าสนใจมากแต่ท่าจะยาว พักไว้ก่อน) ก่อนจะกลับมานอนในเมือง ที่ Hotel Pudu Plaza



เช้าวันที่ 13 มีนาคม 59 ถือเป็นไฮไลท์กิจกรรมในทริปนี้ของผมก็ว่าได้ (นอกเหนือจากตารางของหลักสูตร) พวกเราตื่นตั้งแต่ตี 4 แต่งตัวครบชุด เพื่อเข้าร่วมการวิ่งมินิมาราธอน 10 Km. ST John Ambulans Malaysia Wilayah Persekutuan (Charity Fun Run 2016) เป็นการวิ่งในต่างประเทศครั้งแรกเบยย ตื่นเต้นมากกก ...พวกเราถูกวอร์มอัพอย่างถูกวิธีจากโค้ชหมอโป๊ะ และโค้ชพี่อุ้ม (มืออาชีพมาก) จากนั้นเสียงสัญญาปล่อยตัว... เส้นทางวิ่งอยู่ในเมืองกัวลาลัมเปอร์ ผ่านเนินสโลปเป็นช่วงๆ ที่สำคัญคือทำให้สามารถสัมผัสความเป็นเมืองได้ใกล้ชิดมาก สองข้างทางมีต้นไม้ใหญ่เกือบตลอดทาง บรรยากาศร่มรื่นมากกก วิ่งไป... เดินไป พี่อุ้มกับพี่หมอก็ชะลอคอยพยุงๆเราไป ต้องขอขอบคุณพี่ๆมาก สุดท้ายก็มาถึงเส้นชัย มารวมตัวกับคณะพี่สาวๆ(พี่นีน่า พี่แจ๋ พี่นิด พี่โอ๋ พี่ด้า พี่อ้อย พี่ตูน พี่เก๋ )... สำเร็จจนได้เย้ เย้ !!!! 


เช้าวันที่ 14 มีนาคม 59 พวกเราได้เข้าพบท่านเอกอัครราชฑูตไทยประจำประเทศมาเลเซีย "ท่านดำรง ใคร่ครวญ" เอกอัครราชฑูตไทย ประจำกัวลาลัมเปอร์มาเลเซีย และคณะ ... โดยท่านฑูตได้กล่าวต้อนรับพวกเราอย่างเป็นกันเอง จากการแนะนำ และกระตุ้นความคิดให้พวกเราว่า 



“ยินดีต้อนรับสู่กัวลาลัมเปอร์…ทั้งนี้คนส่วนใหญ่ที่มาที่นี้ มักจะดูงานประชาคมอาเซียน แต่สำหรับผมแล้ว คิดว่ามาเลเซียถือเป็นประเทศที่มีการตื่นตัวน้อยที่สุด ยิ่งเมื่อเทียบกับประเทศไทยที่รายการ AEC ทุกสัปดาห์ หรือรายการทีวีมีเรื่องของAEC ตลอดมา ...สำหรับประเทศมาเลเซียนั้น มีประชากร 29 ล้านคน มีกำลังแรงงาน 13 ล้านคน อัตราการว่างงาน ร้อยละ 3.2 มีคนไทยมาทำงาน 13,000 คน ภาคประมง 24,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคบริการ 9,749 คน ภาคเกษตร 1,767 คน ภาคก่อสร้าง 922 เพาะปลูก 516 คน โรงงาน 328 และดูแลบ้าน 397 ตามลำดับ  สำหรับการเคลื่อนย้ายแรงงานใน 8 กลุ่มอาชีพนั่น นับแต่ต้นปี 59 มา ยังไม่ปรากฏการเคลื่อนย้าย แพทย์ วิศวกร หรือพยาบาลฯ แม้เพียงคนเดียว จากกระบวนของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ขณะที่การเคลื่อนไหวของสินค้าในภูมิภาค ซึ่งสินค้า 99 % อยู่ในกรอบ AFTA แล้ว แต่ในความเป็นจริง การขนย้ายสินค้าเกษตรต่างๆ มายังมาเลเซียนั่นยังสามารถทำได้ยากยิ่ง ซึ่งก็ยังคงติดปัญหากฏระเบียบภายในของแต่ละประเทศ (NTB: Non - Tariff Barriers) ส่วนทางด้านประชากรที่นี้ มีถึง 170 ชาติพันธ์ หากแต่คนที่นี้ จะไม่นิยมแต่งงานข้ามชาติพันธ์กัน คนมุสลิม ก็จะไม่แต่งงานกับคนคริสต์ คนมาเล คนจีน ก็ไม่แต่งงานกับคนอินเดีย เป็นสังคมพหุภาคี คนจีนในระดับกลางเอง เริ่มถูกจำกัดบทบาทมากขึ้น ทั้งในการรับราชการก็จะมีการกั้นพื้นที่ให้คนมาเลก่อน (70%) หรือเช่นการออกหุ้นก็ต้องจำหน่ายหุ้นในราคา Par แก่คนมาเลเซีย 30 % เป็นต้น ...ส่วนเรื่องที่เป็น Hot Issue ที่คนมาเลเซีย กล่าวถึงสังคม ได้แก่ 

1. ข้อกล่าวหาการทุจริตของนายกรัฐมนตรีราจิ๊ป ที่เกี่ยวพันกับตัวเลขถึง 700 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นเรื่องช๊อกสังคมชาวมาเลเซียอย่างมาก โดยเฉพาะกับสมมติฐานของปชช.ที่คิดว่านายกรัฐมนตรีทุกคนเป็นคนดี ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะจบลงอย่างไร
2. สภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ โดยศก.ของมาเล ที่มีการพึ่งพารายได้จากปิโตเลียมเป็นหลัก ซึ่ง 1 ใน 3 ของรายได้งบประมาณของประเทศนั้นล้วนก็มาจากปิโตเลียม มีเพียง 60 % ที่มาจากการเก็บภาษี ขณะที่ราคาน้ำมันปัจจุบันกลับลดลงเหลือเพียง 1ใน 4 ของที่ควรจะเป็น รวมถึงเศรษฐกิจของมาเลก็มีการพึ่งพาตลาดประเทศจีนเยอะมาก ขณะที่การส่งออกปัจจุบันเกือบจะเป็น 0 ซึ่งส่งผลไปกับประชาชน ทำให้รัฐบาลมีการลดการอุดหนุนจากบริการของรัฐที่เคยให้ ตัด/ลด กว่า 20 รายการสิทธิประโยชน์ รวมถึงมีการจัดเก็บภาษีบางอย่างเพิ่มขึ้นอีกด้วย
3. เป้าหมายของที่จะเป็นที่พัฒนาแล้ว ในปี 2020 ซึ่งก็ถือว่าได้พัฒนาไปมาก และอาจสังเกตได้จากการขับรถจากด่านสะเดา ลงไปทางใต้ของมาเลเซีย ก็จะทำให้เห็นได้ชัดเจนมากกว่าประเทศนี้ ได้พัฒนาไปได้เยอะมากจริงๆ เรียกว่าคนที่นี้หายใจเป็น 2020 กันเลยทีเดียว
4. กระแสของการก่อการร้ายที่มีการขยายตัวในประเทศต่างๆ ซึ่งมาเลเซียให้ความสำคัญอย่างมาก จะมีการตรวจตราตามพื้นที่ต่างๆ หากด้วยเพราะคนที่นี้มีความอ่อนไหวกับเรื่องนี้มาก มีการดำรงอยู่ของคนในหลากหลายเชื้อชาติ 

สำหรับด้านการค้าของธุรกิจไทยในประเทศมาเลเซีย จะเห็นว่าคนไทยไม่ค่อยมาค้าขายที่นี้เท่าไรนัก อาจจะเป็นข้อจำกัดในด้านภาษาและการลงทุนในประเทศนี้ หากแต่โอกาสของซื้อขายสินค้ายังมี ซึ่งสามาถผ่านทางธุรกิจของคนจีนที่นี้ เพราะที่นี้ไม่ค่อยมีการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคแล้ว ภาคการเกษตรก็ไม่มี มีแต่การปลูกโกโก้ ปาลม์น้ำมัน และข้าวเท่านั้น อีกส่วนหนึ่งคือการขายชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ให้แก่อุตสาหกรรมรถยนต์ที่นี้ ก็ยังคงมีความเป็นไปได้ แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือการใช้ตลาดมาเลเซียในการจัดส่งสินค้าฮาลาลไปยังโลกมุสสิม... ท่านฑูตกล่าวให้มุมมองทางธุรกิจที่น่าสนใจเพิ่มเติม

          กล่าวโดยสรุป สำหรับประเทศนี้ เชื่อว่ายังคงมีอารายที่น่าศึกษาเป็นอันมาก ประเทศที่มุ่งมั่นสู่การจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว 2020 เป็นประเทศที่มีแผนในการพัฒนาที่ชัดเจน ทั้งการขยายตัวของอุตสาหกรรมใหญ่ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ผสานไปกับความหลากหลายของเชื้อชาติวัฒนธรรม ในขณะที่กำลังจะเพิ่มบทบาทของประเทศที่เชื่อมต่อกับโลกมุสสิม เหล่านี้ ล้วนเป็นความท้าทายของประเทศไทยเช่นกัน ว่าจากนี้ เราจะขับเคลื่อนประเทศต่อไปอย่างไร "มิใช่ให้ก้าวตามให้ทัน แต่ก้าวอย่างไรให้แซง...." คงต้องช่วยกันจากนี้ ของคนทุกภาคส่วนของประเทศเรา ต่อไป





ส่งท้ายทริป..มาเลเซีย ด้วยการร่วมดื่มด่ำบรรยากาศ Roof Bar พร้อมเฉลิมฉลองวันเกิดพี่ใหญ่แห่ง Fly Now ชมวิวตึกแฝดที่ Marini's on 57 
สุดยอดจริงๆ 





(ฉบับหน้า พบกันในทริปสิงค์โปร์ต่อ)





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น